I-REC ต่างจาก REC อย่างไร รวมทุกเรื่องที่ควรรู้

I-REC ต่างจาก REC อย่างไร รวมทุกเรื่องที่ควรรู้

ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็นสื่อกลางสำคัญที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนทางพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมได้โดยง่าย แต่รายละเอียดที่เยอะชวนสับสนก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้หลายๆ องค์กรไม่ได้เริ่มดำเนินการเสียที หนึ่งในนั้นก็คือประเด็นเรื่องความต่างระหว่าง I-REC และ REC ซึ่งทาง REC Thailand ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนในไทย ก็ได้นำคำอธิบายแบบง่ายๆ มาให้ชมกันในบทความนี้แล้ว

I-REC คืออะไร

เดิมทีแล้ว I-REC ย่อมาจาก The International Renewable Energy Certificate Standard ซึ่งก็คือชื่อองค์กรที่เป็นผู้ตั้งมาตรฐานและให้การรับรอง REC ที่ถูกผลิตขึ้นในหลากหลายประเทศทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ. หรือ EGAT) เป็นผู้ตรวจสอบรับรองประจำประเทศที่จะคอยดำเนินการยื่นเรื่องให้กับหน่วยงาน I-REC

แต่ปัจจุบันองค์กร I-REC ได้ทำการเปลี่ยนชื่อ (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2023) เป็น I-TRACK หรือ The International Tracking Standard Foundation เพื่อให้ครอบคลุมเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากขึ้น โดย I-TRACK ยังคงดูแลเรื่อง I-REC for Electricity ที่ใช้รับรองการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดเหมือนเดิม (เดิมทีมีชื่อเรียกแค่ I-REC แต่เพื่อให้ชัดเจนขึ้น จึงมีการเติมคำว่า Electricity เข้าไป หลังเปลี่ยนชื่อองค์กร) และเพิ่มเติมในเรื่องของ I-TRACK for Hydrogen, I-TRACK for Biogas และอื่นๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกเช่นกัน คำว่า I-REC ในประเทศไทย จึงเหมือนเป็นการเรียกชื่อมาตรฐาน REC ที่ผ่านการตรวจสอบโดย กฟผ. และได้รับการยอมรับจาก I-TRACK

นอกจากนี้คำว่า I-REC ยังเป็นคำกลางที่สามารถใช้สื่อสารกันในหลายประเทศ โดยมาจากคำว่า International Renewable Energy Certificate ซึ่งเป็นคำที่ทางบริษัทแม่ที่มีการดำเนินการอยู่ในหลากหลายประเทศ มักใช้สื่อสารกับองค์กรลูกในการจัดซื้อ REC ตามแต่ละประเทศ โดยสาเหตุที่ต้องมีคำว่า International ก็เพื่อป้องกันการนับซ้ำ (Double Counting) ระหว่าง REC ที่มาจากต่างมาตรฐาน และเพื่อช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ การเลือกซื้อ REC ที่ได้มาตรฐานระดับ International จาก I-TRACK ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ตรวจสอบเอกสารประจำปีของบริษัทนั้นจะมีความสำคัญในกรณีเช่นนี้เป็นอย่างมาก

I-REC Logo
I-Track Logo (The International Tracking Standard Foundation)

I-REC ต่างจาก REC อย่างไร

ดังที่ได้กล่าวไป คำว่า I-REC ในไทยมักใช้สื่อถึงมาตรฐาน REC ที่ผ่านการตรวจสอบโดย กฟผ. และได้รับการยอมรับจาก I-TRACK

แต่ก็จะมีอีกมุมหนึ่งที่คำว่า I-REC จะเป็นคำเรียกทางการของ REC สำหรับบางประเทศและเขตแดน ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

  • I-REC ย่อมาจาก International Renewable Energy Certificate คือ REC ที่ได้รับการรับรองจาก I-TRACK ซึ่งเป็นองค์กรระดับนานาชาติที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันถูกใช้เป็นมาตรฐานหลักในกว่า 60 ประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเทศนอกทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป
  • REC ย่อมาจาก Renewable Energy Certificate เป็นคำเรียกหลักสำหรับ REC ที่ได้รับการรับรองในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยมาตรฐานและหน่วยงานที่รับรองก็จะต่างกันไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของแต่ละรัฐ
  • GO ย่อมาจาก Guarantee of Origin คือใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ออกในทวีปยุโรป โดยจะใช้มาตรฐานกลาง European Energy Certificate System (EECS) ซึ่งถูกกำหนดโดย Association of Issuing Bodies (AIB) ที่มีสมาชิกจากหลากหลายประเทศในทวีปยุโรป

แม้จะมีการแบ่งคำเรียกทางการตามมาตรฐานของแต่ละประเทศและเขตแดน แต่ประเทศไทยก็นิยมใช้คำว่า REC เป็นหลักอยู่ดี เนื่องจากมีความกระชับ ใช้กันจนเคยชิน และความหมายในการอ้างสิทธิ์การใช้พลังงานสะอาดก็เป็นไปเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ หลายๆ ครั้งใบประกาศ I-REC, REC และ GO ก็มักถูกเรียกโดยทั่วไปว่า Energy Attribute Certificate โดยทั้งหมดนี้ต่างก็ได้รับการยอมรับในระดับสูงที่สุดจาก Scope 2 Guidance ของ GHG Protocol ซึ่งเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลก ด้วยการยอมรับนี่เอง การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดผ่านการซื้อ REC จึงมีความน่าเชื่อถือและได้รับความนิยมในช่วง 5 ปีให้หลังมานี้

การใช้งาน I-REC

I-REC แต่ละหน่วยจะเป็นตัวแทนแสดงถึงปริมาณไฟฟ้า 1 MWh ที่ผลิตได้จริงจากพลังงานหมุนเวียน โดยจะใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขาย

วัตถุประสงค์การซื้อ I-REC ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะของการซื้อเพื่อชดเชย หรือซื้อเพื่อช่วยบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานสะอาดของตน รวมถึงซื้อเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลงทะเบียนซื้อขายกับคู่ค้า สาเหตุเหล่านี้จึงทำให้ตลาด I-REC ในประเทศไทยและหลากหลายประเทศทั่วโลกนั้นกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก

การซื้อและใช้งาน I-REC จะทำในรูปแบบ “จองและอ้างสิทธิ์” กล่าวคือผู้ซื้อจะไม่ได้รับไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียนโดยตรง แต่จะจองสิทธิ์ไว้ผ่านการซื้อใบรับรอง I-REC เมื่อถึงเวลาการตรวจเล่มรายงานประจำปี หากมีการแสดงผลการใช้ไฟฟ้าร่วมกับการซื้อใบรับรอง I-REC ก็จะสามารถยืนยันสิทธิ์การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ตามสัดส่วนที่มีการซื้อ I-REC ดังนั้นการซื้อ I-REC จึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องผ่านการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) เพียงแค่ทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าในปีนั้นๆ และซื้อ I-REC เพื่อชดเชยกับการใช้ไฟฟ้า ก็สามารถอ้างสิทธิ์ในการใช้พลังงานสะอาดได้สูงสุดถึง 100%

สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะว่า ระบบโครงข่ายไฟฟ้าแต่เดิมทีของหลากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยนั้น ใช้ระบบแบบรวมศูนย์ (Centralized) กล่าวคือไม่ว่าไฟฟ้าจะถูกผลิตขึ้นจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือถูกผลิตขึ้นจากเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ไฟฟ้าเหล่านั้นก็จะถูกส่งต่อผ่านสายส่งกลางของประเทศ ทำให้ไม่สามารถแยกได้ว่าไฟฟ้าส่วนไหนมาจากแหล่งใด สาเหตุนี้เองเราจึงไม่สามารถทราบสัดส่วนพลังงานสะอาดจากสายไฟฟ้าที่เราใช้ รวมถึงไม่สามารถอ้างสิทธิ์ในการใช้พลังงานสะอาดได้เช่นเดียวกัน เพราะเรามีการซื้อไฟฟ้าจากส่วนกลาง ดังนั้นการใช้ระบบเครดิตอย่าง I-REC จึงช่วยให้หลากหลายประเทศทั่วโลกสามารถทำการอ้างสิทธิ์ และซื้อพลังงานสะอาดผ่านการซื้อใบประกาศ รวมถึงสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้

ตัวอย่างใบประกาศ REC ตามมาตรฐาน I-TRACK

ใบประกาศ REC ที่ออกโดย I-TRACK (หรืออาจเรียกว่าใบประกาศ I-REC) จะเป็นสิ่งยืนยันการซื้อขาย REC ที่ได้รับมาตรฐานถูกต้อง โดยรายละเอียดจะระบุครอบคลุมข้อมูลสำคัญต่างๆ ได้แก่ ชื่อผู้ซื้อในนามองค์กรหรืองานอีเว้นท์ต่างๆ สถานที่ตั้งองค์กร รวมถึงจะระบุรายละเอียดของ REC ที่มีการซื้อขายกัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ปริมาณ วันเดือนปีที่มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมถึงสามารถตรวจสอบรายละเอียดของโรงไฟฟ้าที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดนั้นให้กับเราได้ผ่านทาง Verification QR Code

ตัวอย่างใบรับรอง REC Certificate

I-REC กับ Carbon Credit ต่างกันอย่างไร

อีกคำถามที่ทาง REC Thailand มักได้รับอยู่บ่อยๆ ก็คือ I-REC กับ Carbon Credit นั้นต่างกันอย่างไร ซึ่งก็สามารถอธิบายง่ายๆ ได้ดังนี้
  • I-REC คือใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยอิงจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จริงจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ และชีวมวล มีหน่วยเป็น MWh ซึ่งผู้ซื้อสามารถใช้อ้างสิทธิ์การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 2 ได้
  • Carbon Credit คือสิทธิ์ที่แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มาจากโครงการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจก มีหน่วยเป็น Ton of Carbon Dioxide Equivalent (tCO2e) ซึ่งผู้ซื้อสามารถใช้อ้างสิทธิ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1-3 ได้

บทสรุป

สำหรับในไทย คำว่า I-REC มักใช้เรียกชื่อมาตรฐาน REC ที่ผ่านการตรวจสอบโดย กฟผ. และได้รับการยอมรับจาก I-TRACK ส่วนคำว่า REC จะเป็นคำเรียกใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน แต่ในระดับสากล คำว่า I-REC, REC และ GO จะเป็นคำเรียกทางการสำหรับใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ต่างกันไปสำหรับแต่ละประเทศและเขตแดนขึ้นอยู่กับมาตรฐานที่ใช้ แม้จะมีชื่อเรียกที่ต่างกันไปบ้าง แต่ความหมายในการอ้างสิทธิ์การใช้พลังงานสะอาดก็เป็นไปเช่นเดียวกัน โดยทั้งหมดนี้ต่างก็ได้รับการยอมรับในระดับสูงที่สุดจาก Scope 2 Guidance ของ GHG Protocol ซึ่งเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลก

REC Thailand ผู้เชี่ยวชาญด้าน I-REC

REC Thailand เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดหาและส่งมอบ I-REC ที่มีคุณภาพสูง ไม่ว่าองค์กรของคุณจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ผลิต หรือมีความต้องการเฉพาะในรูปแบบใด เราก็พร้อมที่จะให้คำปรึกษาและช่วยดูแลในทุกขั้นตอน มั่นใจได้ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี ในอุตสาหกรรมพลังงานผ่านหลายบริษัทในเครืออย่าง GMS Interneer และ GMS Solar

ที่ผ่านมา REC Thailand ได้ร่วมเคียงข้างหลากหลายองค์กรในการแก้โจทย์ความต้องการด้านพลังงานสะอาด ผ่านการซื้อ I-REC โดยเราสามารถนำเสนอให้ได้ทุกเทคโนโลยีที่มีการผลิตในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวล นอกจากนี้เรายังมีเครือข่ายโรงไฟฟ้าที่มีการขึ้นทะเบียนกับ I-REC หลากหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ฟิลิปปินส์ หรือสิงคโปร์

หรือหากองค์กรของท่านกำลังมองหา Carbon Credit เราก็สามารถจัดสรรให้ได้เช่นเดียวกันทั้งมาตรฐานประเทศไทย หรือ T-VER หรือมาตรฐานที่เป็น International Standard เช่น Verra และ Gold Standard ทั้งรูปแบบโครงการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ก็สามารถมองหาได้ที่ GMS Solar

Scroll to Top